กิจกรรม 24 - 28 มกราคม 2554 คะแนน 100 คะแนน



ข้อ 31. ตอบ 3
1.    การลดปริมาณของขยะพลาสติก โดยการสิ่งของที่ซื้อมาใส่ในถุงเดียวกัน หรือถ้าจะให้ดีควรจะมีถุงผ้า หรือตะกร้าติดมือไปด้วยสำหรับใช้ในการจับจ่ายซื้อของ วิธีการนี้จะทำให้เราลดปริมาณขยะพลาสติกลงได้เป็นจำนวนมาก    
2.    การพยายามใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ขวดน้ำสามารถใช้บรรจุน้ำดื่มไว้ดื่มกินได้ครั้งแล้วครั้งเล่า ใช้ขวดน้ำพลาสติกทำระบบน้ำหยดรดน้ำต้นไม้ ใช้กระป๋องเครื่องดื่มทำสิ่งของชำร่วย ใช้บัตรโทรศัพท์ทำเป็นของที่ระลึก เก็บถุงพลาสติดที่สภาพดีเอาไว้ใช้จนกว่าจะขาดและใช้การไม่ได้ นำเศษกระดาษมาทำเป็นวัสดุคลุมดิน ใช้เศษลังทำของเล่นให้เด็กๆ ใช้กระดาษพิมพ์หรือเขียนทั้งสองหน้า หรือวิธีการอื่น ๆ ที่สร้างสรรค์ และสามารถลดปริมาณขยะลงได้
3.    การทำปุ๋ยหมักจากขยะ เช่น ทำปุ๋ยหมักจากเศษขยะธรรมชาติ  เช่นเศษอาหาร เศษผัก เศษเปลือกผลไม้ เศษใบไม้ เศษหญ้าแห้ง และอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ นำมาหมักในภาชนะ ในกอง ในกะบะ หรือทำเป็นหลุมก็ได้ ซึ่งการทำก็ไม่ยุ่งยาก ปุ๋ยหมักมีประโยชน์ต่อการปรับปรุงบำรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้พืชผักที่ปลูกงอกงามดี และลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการซื้อปุ๋ยและผัก   
      4.    การแยกขยะดีไว้ต่างหากเพื่อนำไปขาย โดยเฉพาะขยะที่ใช้ใหม่ได้ และขยะที่นำไปใช้เปลี่ยนรูปได้ (Reuse และ Recycle) เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก กระป๋อง เหล็ก กระดาษ ลังกระดาษ กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ และอลูมิเนียม เป็นต้น ขยะประเภทนี้ถ้าทิ้งไปเฉย ๆ ก็จะไม่เกิดประโยชน์ แต่กลับจะเพิ่มปัญหาด้านการกำจัด และเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการแยกขยะเหล่านี้ไว้ต่างหากจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก และควรกระทำในทุกชุมชน  ในปัจจุบันมีร้านรับซื้อของเก่าจำนวนมากและส่วนมากจะรับซื้อของเก่าแทบทุกชนิดในราคาที่แตกต่างกัน 
       5.    การนำขยะไปกำจัดอย่างถูกวิธี ขยะที่จะนำไปกำจัดไม่ใช่ว่าทำได้กับขยะทุกชนิด ดังนั้นทางที่ดีควรจะเป็นขยะที่เหลือจากการทำปุ๋ยหมัก ขยะที่เหลือจากการนำไปใช้ใหม่ และขยะที่เหลือจากการแยกไว้ขายแล้วเท่านั้น ที่จะนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 
 ข้อ 32. ตอบ 1.
* น้ำค้างเกิดจากการควบแน่นของไอน้ำบนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งมีการแผ่รังสีออกจนกระทั่งอุณหภูมิลดต่ำลงกว่าจุดน้ำค้างของอากาศซึ่งอยู่รอบๆ เนื่องจากพื้นผิวแต่ละชนิดมีการแผ่รังสีที่แตกต่างกัน ดังนั้นในบริเวณเดียวกัน ปริมาณของน้ำค้างที่ปกคลุมพื้นผิวแต่ละชนิดจึงไม่เท่ากัน

 * ตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดมีสมบัติในการเกิดปฏิกิริยาได้เร็วช้าต่างกัน เช่น  ธาตุเฮโลเจนมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยามาก ขณะที่ธาตุไนโตรเจนจะเฉื่อยชาไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยา ดังนั้น ปฏิกิริยาเคมีต่าง ๆ จะมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาแตกต่างกัน บางปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น การระเบิดของดินปืน ปฏิกิริยาระหว่างกรดกับเบสจะได้เกลือกับน้ำทันที
NaOH + HCl        NaCl + H2O
            ปฏิกิริยาบางปฏิกิริยาก็เกิดอย่างช้า ๆ จนไม่สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงที่พิจารณา ต้องใช้เวลาเป็นวัน เป็นเดือน หรือเป็นปี จึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลงนั้น เช่น การบูดเน่าของอาหาร การเน่าเปื่อยของพืชผักต่าง ๆ การเกิดสนิมของโลหะต่าง ๆ เป็นต้น

กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เป็นการสร้างอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตของพืชสีเขียวเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของพืชอีกทั้งยังเป็นการผลิตอาหารสำหรับสิ่งมีชีวิตอื่นๆบนโลกในพืชสีเขียวนั้นมีคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ดูดกลืนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์มาใช้ในการสร้างอาหารนอกจากนั้นพืชยังจำเป็นต้องใช้น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสารอนินทรีย์โมเลกุลเล็กมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงอีกด้วย
ที่มา http://article.konmun.com/know361.htm


 ข้อ 33. ตอบ 4.
การเกิดปฏิกิริยาเคมี
    
ถ้านักเรียนสังเกตรอบๆตัวเรา จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงใด เป็นการเกิดปฏิกิริยาเคมี ... มีข้อสังเกตในการเกิดปฏิกิริยาเคมี คือจะต้องมีสารใหม่เกิดขึ้นเสมอ สารใหม่ที่เกิดขึ้นจะต้องมีสมบัติเปลี่ยนไปจากสารเดิม... เช่น การเผาไหม้ของวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิง การย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร การสึกกร่อนของอาคารบ้านเรือน การบูดเน่าของอาหาร เป็นต้น

  ปฏิริยาเคมีคืออะไร
   
ปฏิกิริยาเคมี  หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสารแล้วส่งผลให้ได้สารใหม่ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จะต้องเกิดจากสารตั้งต้น (reactant) ทำปฏิกิริยากัน แล้วเกิดเป็นสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)

  ปฏิกิริยาเคมีแบ่งออกได้  5  ชนิด ได้แก่     1. ปฏิกิริยาการรวมตัว                         A +Z         ------->           AZ

     2.
ปฏิกิริยาการสลายตัว                       AZ            ------->           A +Z

     3.
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงเดี่ยว             A + BZ       ------->           AZ + B

     4.
ปฏิกิริยาการแทนที่เชิงคู่                  AX+BZ       ------->           AZ + BX

      5.
ปฏิกิริยาสะเทิน                            HX+BOH     ------->          BX + HOH
 
  สังเกตได้อย่างไรว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นเราสามารสังเกตได้ว่ามีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นโดยสังเกตสิ่งต่อไปนี้
   
มีฟองแก๊ส
    มีตะกอน
    สีของสารเปลี่ยนไป  
    อุณหภูมิเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ที่มา http://www.tps.ac.th/~narin/basicchem/index_files/page0013.htm
ข้อ 34. ตอบ 2.



ที่มา http://www.mwit.ac.th/~teppode/sheet_rate.pdf


 ข้อ 35.ตอบ 4.
สัญลักษณ์นิวเคลียร์ (nuclear symbol) เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงจำนวนอนุภาคมูลฐานของอะตอมด้วยเลขมวลและเลขอะตอม เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ดังนี้

โดยที่  X  คือ  สัญลักษณ์ธาตุ
            Z  คือ  เลขอะตอม (atomic number) เป็นจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
            A  คือ  เลขมวล (mass number) เป็นผลบวกของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน
สูตร   A = Z + N
โดยที่ N เป็นจำนวนนิวตรอน อะตอมของธาตุเป็นกลางทางไฟฟ้า (จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน)


ภาพที่ 7 การคำนวณหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ตัวอย่างที่ 1 การหาอนุภาคมูลฐานของอะตอมจากสัญลักษณ์นิวเคลียร์
ดังนั้น อะตอมของธาตุปรอท (Hg)
           มีจำนวนโปรตอน = 80 อนุภาค
           อิเล็กตรอน = 80 อนุภาค
           และนิวตรอน = 201 - 80 = 121 อนุภาค
ที่มา http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_07.html


 ข้อ 36. ตอบ 2.
โปรตอน (อังกฤษ: proton จากภาษากรีก: πρώτον / proton = เริ่มแรก) คืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเกาะอยู่ในนิวเคลียสหรือใจกลางของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน เช่น ไฮโดรเจนเป็นธาตุตัวที่ 1 เบาที่สุดมีโปรตอนตัวเดียว โปรตอนเกิดจากควาร์ก up 2 และ down 1 มีประจุ +1.60x10-19 คูลอมบ์ มีน้ำหนัก 1.67x10-27 กิโลกรัม ฮีเลียมมี 2 ตัว เหล็กมี 26 ตัว ยูเรเนียมมี 92 ตัว
อิเล็กตรอนที่โคจรรอบอะตอมจะมีระดับพลังงานที่เสถียรอยู่จำนวนหนึ่งในลักษณะของวงโคจรอะตอม และสามารถเปลี่ยนแปลงระดับไปมาระหว่างกันได้โดยการดูดซับหรือปลดปล่อยโฟตอนที่สอดคล้องกับระดับพลังงานที่ต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านี้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางเคมีของธาตุ และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณสมบัติทางแม่เหล็กของอะตอม มีประจุลบ เบากว่าอนุภาคทั้งสองชนิดแรกมาก เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วอยู่รอบนิวเคลียสอะตอมเป็นองค์ประกอบพื้นฐานทางเคมีซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงตามปฏิกิริยาเคมี ธาตุที่พบได้ตามธรรมชาติบนโลกนี้นั้นมีปรากฏอยู่ประมาณ 90 ชนิดเท่านั้น (นอกเหนือจากนี้มี ธาตุบางชนิดเช่น เทคนิเซียม และ แคลิฟอร์เนียม ที่พบได้ในซูเปอร์โนวา และธาตุที่เลขอะตอมสูง (มากกว่า 100 ขึ้นไป) ที่สามารถสังเคราะห์ได้จาก การนำอะตอมมาชนกันด้วยความเร็วสูง)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A1

 ข้อ 37 ตอบ 3.
ตารางธาตุในรูปเป็นแบบที่ใช้กันอยู่มากในปัจจุบัน แบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถวหรือ 18 หมู่ โดยธาตุทั้งหมด 18 แถว แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่ม A และ B กลุ่ม A มี 8 หมู่ คือหมู่ IA ถึง VIIIA ส่วนกลุ่ม B ซึ่งอยู่ระหว่างหมู่ IIA และ IIIA มี 8 หมู่เช่นเดียวกัน คือ หมู่ IB ถึง VIIIB (แต่มี 10 แนวตั้ง) เรียกธาตุกลุ่ม B ว่า ธาตุทรานซิชัน
ธาตุในแต่ละหมู่ ของกลุ่ม A ถ้ามีสมบัติคล้ายกันจะมีชื่อเรียกเฉพาะหมู่ เช่น
ธาตุหมู่ IA เรียกว่า โลหะอัลคาไล (alkali metal) ได้แก่ Li , Na , K , Rb , Cs , Fr
ธาตุหมู่ IIA เรียกว่า โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท (alkaline earth) ได้แก่ Be Mg Ca Sr Ba Ra
ธาตุหมู่ VIIA เรียกว่า ธาตุเฮโลเจน (halogen) ได้แก่ F Cl Br I At
ธาตุหมู่ที่ VIIIA เรียกว่า ก๊าซเฉื่อย (Inert gas) ได้แก่ He Ne Ar Kr Xe Rn

ที่มา http://www.kr.ac.th/tech/detchm48/table70.html

 ข้อ 38. ตอบ 3.
ไอออน คือ อะตอม, หรือกลุ่มอะตอม ที่มีประจุสุทธิทางไฟฟ้าเป็นบวก หรือเป็นลบ ไอออนที่มีประจุลบ จะมีอิเล็กตรอนในชั้นอิเล็กตรอน (electron shell) มากกว่าที่มันมีโปรตอนในนิวเคลียส เราเรียกไอออนชนิดนี้ว่า แอนไอออน (anion) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแอโนด (anode) ส่วนไอออนที่มีประจุบวก จะมีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตอน เราเรียกว่า แคทไอออน (cation) เพราะมันถูกดูดเข้าหาขั้วแคโทด (cathode) กระบวนการแปลงเป็นไออน และสภาพของการถูกทำให้เป็นไออน เรียกว่า "ไอออไนเซชัน" (ionization) ส่วนกระบวนการจับตัวระหว่างไอออนและอิเล็กตรอนเข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นอะตอมที่ดุลประจุแล้วมีความเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า recombination แอนไอออนแบบโพลีอะตอมิก ซึ่งมีออกซิเจนประกอบอยู่ บางครั้งก็เรียกว่า "ออกซีแอนไอออน" (oxyanion)
ไอออนแบบอะตอมเดียวและหลายอะตอม จะเขียนระบุด้วยเครื่องหมายประจุรวมทางไฟฟ้า และจำนวนอิเล็กตรอนที่สูญไปหรือได้รับมา (หากมีมากกว่า 1 อะตอม) ตัวอย่างเช่น H+, SO32-
กลุ่มไอออนที่ไม่แตกตัวในน้ำ หรือแม้ก๊าส ที่มีส่วนของอนุภาคที่มีประจุ จะเรียกว่า พลาสมา (plasma) ซึ่งถือเป็น สถานะที่ 4 ของสสาร เพราะคุณสมบัติของมันนั้น แตกต่างไปจากของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ
ไอออนนั้นมีความจำเป็นสำหรับชีวิต ไอออนของโซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม และไอออนอื่นๆ มีบทบาทสำคัญในเซลของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะในเซลเมมเบรน ไอออนเหล่านี้มีการใช้ในชีวิตประจำวันเป็นจำนวนมาก เช่น ตัวตรวจจับควัน และยังพบในการใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ เช่น เครื่องยนต์ไอออน (ion engine) และปืนใหญ่แบบใช้ไอออน (ion cannon)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99

 ข้อ 39. ตอบ 2.
สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม
ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม(mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง(brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์(aluminium gallium arsenide) หรือ ซ็อกโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้
ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้นๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound)

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A

ข้อ 40. ตอบ 1.
เราอาศัยสมบัติของธาตุกัมมันตภาพรังสีที่ว่ามีการสลายตัวอยู่ตลอดเวลา  มาทำการศึกษาเกี่ยวกับด้านการเกษตรได้เป็นอย่างดี  ตัวอย่างเช่นการวิจัยเกี่ยวกับปุ๋ยเราใส่ปุ๋ยที่มีธาตุกัมมันตรังสีปนอยู่  เช่น  แล้วสังเกตดูอัตราการดูดซึมของปุ๋ยจากราก  รากจะดูดธาตุกัมมันตรังสีแล้วส่งต่อไปยังลำต้นและไปอยู่ที่ใบเพื่อรอการสังเคราะห์แสง   ( Photosynthesis  )  เราสามารถหาปริมาณปุ๋ยที่ใบได้โดยการตรวจวัด   ปริมาณของการแผ่รังสีของปุ๋ย      ที่ใบ  การศึกษาดังกล่าวนี้ทำให้ทราบอัตราการดูดซึมได้  อีกตัวอย่างหนึ่งเราใช้กัมมันตภาพรังสีจากไอโอดีน     กับโคนม  เราทราบว่าในการผลิตน้ำนมปริมาณน้ำนมที่โคผลิตได้ขึ้นอยู่กับการทำงานของต่อมไทรอยด์ ( Thyroid  )  ถ้าต่อมไทรอยด์ทำงานเพิ่มขึ้นปริมาณน้ำนมจะมีค่ามากขึ้น  แต่การทำงานของต่อมไทรอยด์ขึ้นอยู่กับปริมาณและอัตราการเก็บไอโอดีน  ดังนั้นการให้ไอโอดีนแก่โคนมจึงเป็นการกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ทำให้สามารถผลิตนมได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้เราใช้การอาบกัมมันตภาพรังสีเพื่อเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืชบางชนิดให้มีคุณภาพดีขึ้นเพราะว่ารังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุกัมมันตภาพรังสีจะมีโคโมโซม  ( Chromosome  )  ในเมล็ดพันธุ์พืชเปลี่ยนไป  เมื่อนำเมล็ดไปเพาะเราจะได้พันธุ์ใหม่ซึ่งมีลักษณะต่างจากเดิมวิธินี้โอกาสที่จะได้พันธุ์พืชที่ดีมีไม่มาก   อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเราสามารถได้พันธุ์พืชที่ดีหลายสิบชนิด  เช่น พันธุ์ไม้ดอก  และพันธุ์ไม้ผล  เป็นต้น

ที่มา http://www.thainame.net/weblampang/kong/index8.html

3 ความคิดเห็น:

  1. ให้คะเเนนงานชิ้นนี้
    ทำครบตามที่กำหนด 20 คะแนน
    มีเฉลยให้ข้อละ 10 คะแนน
    บอกที่มาของแหล่งข้อมูล ให้ 20 คะแนน( URL)
    วิเคราะห์ข้อมูล สืบค้นได้ตรงประเด็นให้ 40 คะแนน
    *** รวมคะแนน 90 คะแนน

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ26 มกราคม 2554 เวลา 00:30

    ตรวจงานท้ายชั่วโมง

    ตอบลบ
  3. ประเมินผลงานเพื่อน
    ข้าพเจ้าคิดว่าผลงานที่เพื่อนทำ น่าจะได้คะแนน 90 คะแนน
    นางสาว ภัณฑิลา หัวใจ ชั้น ม.6/3 เลขที่ 31

    ตอบลบ